วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กติกาการชนไก่

ประวัติ
การเล่นไก่เพื่อเป็นเกมกีฬานั้นเท่าที่พอจะค้นหาหลักฐานได้พบว่า เมื่อ 480 ปีก่อน คริสตศักราช ขุนศีกจากนครเอเธนส์(ประเทศกรีซ) ได้ยกทัพเรือไปโจมตีชาวเปอร์เซียนที่เกาะแซลอะมิส แล้วได้เห็นกีฬาชนไก่ของชาวเปอร์เซียน จนเกิดความสนใจในความแข็งแกร่งของไก่ชน หลังจากรบชนะแล้วจึงได้นำเอาไก่ชนมาจากนครเอเธนส์กลับมาด้วยและได้จัดให้มีการชนไก่เป็นประจำ จากนั้นได้แพร่หลายเข้าสู่กรุงโรม (ประเทศอิตาลี) ในสมัยของเทมินโตเคลสแล้วแพร่กระจายไปทั่วทวีปยุโรป แม้จะถูกกลุ่มผู้นำศาสนาคริสเตียนขัดขวางแต่การชนไก่ก็ยังคงเป็นกีฬาที่นิยมกันในประเทศอังกฤษ อิตาลี เยอรมันนี สเปน และบรรดาเมืองขึ้นประเทศเหล่านี้
ในปี ค.ศ. 1700 ที่ประเทศอังกฤษมีการผสมพันธุ์ไก่ชนและฝึกให้ชนหรือตีกันจนกลายเป็นอุตสาหกรรมสำคัญในช่วงนี้จากทวีปยุโรป กีฬาชนไก่ก็แพร่ไปยังทวีปอเมริกาเริ่มต้นโดยชาวอังกฤษที่อพยพจากเกาะอังกฤษไปตั้งรกรากที่รัฐนิวอิงแลนด์ของอเมริกา หลังจากนั้นกีฬาชนไก่ก็แพร่ไปทั่วทุกรัฐ และประเทศอื่นๆ ในปีค.ศ.1836 รัฐบาลอเมริกาได้แก้กฎหมายห้ามชนไก่เพราะถือว่าโหดเหี้ยมทารุนต่อสัตว์ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับในประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ. 2477-2478ก็ได้นำมาอ้างในการออกกฎหมายบ้าง โดยมีเหตุผลอีกประการหนึ่งว่าหากปล่อยให้เล่นกันแล้วชาวไร่ชาวนาจะพากันหมกมุ่นกับการพนันกีฬาชนไก่ไม่เป็นอันทำไร่ ทำนาในเมืองไทยนั้น กีฬาชนไก่นั้นอาจจะพอสรุปได้ว่าเริ่มมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบันเกือบทุกหัวบ้านหัวเมืองตามตำบลใหญ่จะต้องมี “บ่อนไก่” ไว้สำหรับชนไก่แม้ว่าในระยะหลังจะมีการห้ามเปิดบ่อนกันเพิ่มขึ้นและมีการกำหนดวันชนไก่ได้ไม่เกิน 2 วันต่อเดือนแก่กีฬาชนไก่และการเลี้ยงไก่ชนก็ยังเป็นที่แพร่หลายของผู้ชายไทยโดยเฉพาะในชนบทอยู่ต่อไป กติกาการชนไก่
เงินเดิมพัน
ข้อ 1. เมื่อเปรียบไก่ได้กันแล้ว ให้สองฝ่ายตกลงเก็บเงินเดิมพันไปวางไว้กับผู้รักษาเงินบ่อนก่อนปล่อยไก่เข้าชนกัน ไก่ที่ยังไม่วางเงินเดิมพันจะนำเช้าไปชนไม่ได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายวางเงินเดิมพันแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชน ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะถอนเงินเดิมพันคืนไม่ได้ (เว้นแต่ถึงเวลา 17.00 น.)เพราะมีเวลาขนกันน้อยอาจจะไม่ได้กินกัน ทางบ่อนยินดีคืนเงินให้ได้นั้นจมลง ระยะซ้อมกินกัน 2 นาที ระยะชนกัน 10 นาที ภาชนะดังกล่าวตั้งเมื่อเวลาปล่อยไก่หากตัวใดตัวหนึ่งวิ่งหนีก่อนอันซ้อมจม ถือว่าไม่สู้แม้จะมีแผลหรือถูกเดือยก็ต้องยกเลิกกัน ถ้าหากตัวหนึ่งตัวใดวิ่งหนีพร้อมกับอันซ้อมตก 2 นาที จมหรือเสียงโป๊กดังขึ้นครั้งที่หนึ่ง หรือหลังจากนั้นถือว่าเป็นแพ้โดยเด็ด
ขาดซ้อมปากปล่อยหาง
ข้อ 2. ก่อนปล่อยไก่เข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งสงสัยว่าไก่ของตนไม่สู้เต็มตัว เสนอให้ผู้ปล่อยไก่อีกฝ่ายหนึ่ง และผู้ควบคุมการชนไก่ ในสังเวียนทราบล่วงหน้าว่า ฝ่ายตนต้องการซ้อมปากเป็นสัญญากินกัน เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้วฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ฝ่ายตนทำท่าจะไม่สู้ จะบอกกันอีกฝ่ายหนึ่งว่าซ้อมปากกินกันไม่ได้ ต้องถือเอาอันซ้อม 2 นาที เป็นเกณฑ์ ถ้าหากผู้ปล่อยมีความประสงค์จะปล่อยหางกินกันก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะต้องเสนอให้ผู้คุมบ่อนการชนไก่ก่อนปล่อยหางเข้าชนกัน เพื่อตกลงกันเป็นที่แน่นอนแล้ว มิฉะนั้นจะถือว่าเอาอันซ้อม 2 นาทีเป็นเกณฑ์
ถูกหักวิ่งหนี
ข้อ 3. ในระหว่างชนไก่กัน ตัวหนึ่งตัวใดถูกหักวิ่งหนีและออกปากร้องยังไม่ถือว่าแพ้ ต้องปล่อยจนหมดยกนั้นก่อนให้ทั้ง2ฝ่ายรับไปให้น้ำ 10 นาที เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นให้ทั้งสองฝ่ายนำไก่ไปปล่อยชนในสังเวียน หากตัวหนึ่งวิ่งหนีไม่สู้จึงถือว่าเป็นแพ้ถ้าหากตัวที่วิ่งหนีออกปากร้องในยกก่อนยังสู้อยู่ต้องชนกันไปจนกว่าจะแพ้หรือชนะ
จับเ้ข้าหากัน
ข้อ 4. ไก่ทั้งคู่อยู่ห่างกันไม่พองสร้อยต่างยืนเฉยอยู่ และตัวหนึ่งวิ่งหนีและอีกตัวหนึ่งไม่ไล่ตามผู้ควบคุมการชนไก่มีสิทธิ์จับตัวต่อเข้าหาตัวรองทุกครั้ง ถ้าหากตัวหนึ่งหรือทั้งสองตาบอดผู้คุมการชนไก่มีสิทธิ์จับข้างตาดีเข้าหากัน หากตัวหนึ่งก้มหัวลงอยู่ใต้อกอีกตัวหนึ่งยืนเฉยต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เพราะถือว่าไก่ทั้งสองอยู่ใกล้ชิดกัน
จับไก่ก่อน
ข้อ 5. เมื่อไก่ทั้งคู่ชนกันในสังเวียนก่อนถึงยกให้น้ำ ถ้าหากผู้ปล่อยไก่จับฝ่ายตนก่อนถือว่าเป็นแพ้ ไม่ว่าจะเป็นต่อหรือเป็นรอง ถ้าหากไก่ตัวหนึ่งกำลังวิ่งหนีอยู่ในสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ตัวนั้นยังไม่ทันจับออก ผู้ปล่อยไก่ที่กำลังติดตามจับไก่ของตนก่อน ผู้ควบคุมการชนไก่จะตัดสินแพ้ทั้งคู่(เว้นแต่ทั้งคู่ไล่ติดตามออกนอกสังเวียน ผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายจับไก่เข้าในสังเวียนได้) ถ้าหากผู้หนึ่งผู้ใดจับไก่ที่กำลังชนกันในสังเวียนไม่ว่าตัวใดผู้นั้นจะต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ไก่คู่นั้นจะต้องชนกันไปจนแพ้-ชนะ ถ้าหากฝ่ายใดไม่ยอมชนต่อเมื่อยกนั้น ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินเป็นแพ้
ไก่ตาบอด
ข้อ 6. ไก่ตัวหนึ่งตัวใดตาบอดข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งถูกตีแหลกหรือเลือดปกคลุมแก้วตาดำไม่เห็นคู่ต่อสู้ ยังไม่ถือว่าแพ้ เพราะไก่ตัวนั้นยังสู้อยู่ต้องปล่อยไปจนหมดยก เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ทันที ถ้าปรากฏว่าตาบอดทั้งสองข้างจริงถือว่าแพ้ ไก่ตัวใดถูกตีตาบอดทั้งสองข้างในยกนั้น ยังไม่ถึงเวลาพิสูจน์ บังเอิญตัวตาบอดทั้งสองข้างตีตัวตาดีวิ่งหนีหรือออกปากร้อง เป็นแพ้ ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นผู้ควบคุมการชนไก่จะได้พิสูจน์ตัวตาบอดก่อนทันที ถ้าเข้าลักษณะตาบอดทั้งสองข้าง ถือว่าแพ้ และตัวตาดีที่วิ่งหนีล่อหน้าไม่สู้ถือว่าแพ้ ทั้งคู่ยกเลิกกัน
หนียกสุดท้าย
ข้อ 7. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันระหว่าง 12 อันยกสุดท้ายหรือจะถึงเวลา 19.00 น. ตามนาฬิกาของบ่อนที่จัดไว้ปรากฏว่าตัวใดตัวหนึ่งหนีหน้าอีกฝ่ายหนึ่ง นักพนันทั้งหลายจะถือว่าเป็นแพ้ไม่ได้ต้องปล่อยไปจนหมดยกนั้น หรือหมดเวลา 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะที่อยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนีเพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยอยู่ไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนี ถือว่าเสมอยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากฝ่ายหนีหน้ายกสุดท้ายหรือหมดเวลาดังกล่าว จับไก่ออกสังเวียนไป โดยไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ ถือว่าแพ้ตัวหนึ่งตัวใดเข้าปล่อยชนกันยกสุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาด
ปากเดือยหลุด
ข้อ 8. ถ้าหากปากไก่ตัวใดตัวหนึ่งหลุดออก จะใช้ปากไก่ใหม่สวมแทนได้ และไก่ตัวใดตีจนหลุดจะใช้เดือยที่หลุดผูกติดได้ เมื่อหมดยกพักให้น้ำ ถ้าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้เดือยไก่ตัวอื่นผูกแทนหรือโลหะสวมหรือผูกแทนถือว่าเป็นแพ้
ไก่ถูกยาพิษ
ข้อ 9. เมื่อเจ้าของไก่ทั้งสองฝ่าย ได้วางเงินเดิมพันกับผู้รักษาเงินบ่อนแล้วยังไม่ถึงลำดับเข้าชนกัน ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ของตนถูกวางยาพิษ ต้องแจ้งให้เจ้าของบ่อนหรือผู้คุมการชนไก่ จะสั่งยกเลิกและคืนเงินเดิมพันที่วางไว้ ถ้าหากพิสูจน์แล้วไม่เป็นความจริง เจ้าของไก่จะต้องนำไก่ตัวนั้นเข้าชนตามลำดับที่จัดไว้ ถ้าไม่นำไปชนตามลำดับ ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นว่าแพ้ เมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะมากล่าวหาว่าไก่ของตนถูกวางพิษต้องปล่อยชนกันแพ้หรือชนะ
ไม่ให้บิดพลิ้ว
ข้อ 10. ไก่ทุกคู่เมื่อชนกันถึงอันยกพักให้น้ำ 10 นาที เสียงโป๊กดังขึ้นทั้งสองฝ่ายนำไก่เข้าชนต่อไป หากฝ่ายหนึ่งนำไก่เข้าไปคอยอยู่ในสังเวียนอีกฝ่ายหนึ่งทำท่าบิดพลิ้วไม่รีบนำไก่เข้าชนตามกำหนด ผู้คุมการชนมีสิทธิ์สั่งตั้งอันซ้อม 2 นาที ถ้าหากอันซ้อมจมลง เสียงโป๊กดังขึ้นก่อนนำไก่เข้าในสังเวียน ผู้คุมการชนไก่จะตัดสินใจให้ไก่ตัวนั้นแพ้ยกโดยลำพัง
ข้อ 11. ไก่คู่หนึ่งคู่ใดชนกันไม่ถึง 12 อัน หรือหมดเวลา 19.00 น. ถ้าหากเจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกกันเอง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ควบคุมบ่อนไก่ 19.00 น. เสียงโป๊กดังขึ้น ผู้ควบคุมการชนไก่ จะให้ผู้ปล่อยจับเช็ดหน้าทันทีขณะอยู่ในสังเวียน เมื่อเช็ดหน้าเสร็จแล้วให้ปล่อยไก่ทั้งสองตัวเข้าหากัน ถ้าตัวหนึ่งไล่จิกหัวหรือจิกอีกตัวหนึ่งไม่จิกตอบหรือจิกแล้วบิดหน้าหนีเพียงครั้งเดียวถือว่าแพ้ ถ้าหากตัวที่เคยวิ่งหนีจิกตอบแล้วไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอกัน ต้องยกเลิกกัน และเมื่อทั้งสองฝ่ายปล่อยไก่เข้าหากันตัวต่อยืนเฉยไม่ไล่จิกและ ตัวรองก้มหัวไม่บิดหน้าหนีถือว่าเสมอยกเลิกเช่นกัน ถ้าหากหนีหน้ายกสุดท้าย หรือ หมดเวลาดังกล่าว
จับไก่ออกสังเวียนไปโดยไม่ทำตามคำสั่งผู้คุมการชนไก่ถือว่าแพ้ตัวที่ปล่อยชนกันยกสุดท้าย ไม่ยอมสู้กับคู่ต่อสู้ ถือว่าแพ้เด็ดขาดจะต้องเสียค่าน้ำทั้งสองฝ่าย คือร้อยละ 5 บาท ตามจำนวนเงินเดิมพันที่วางไว้
ห้ามของมึนเมา
ข้อ 12. เมื่อปล่อยไก่เข้าชนกันแล้ว เจ้าของหรือผู้ปล่อยไก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไก่ตนสู้ฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ จะนำเอาของมึนเมา หรือสิ่งอื่นใดให้ไก่กินไม่ได้ ถ้าหากไก่ตัวใดเข้าไปในสังเวียนไม่ยอมสู้กับคู่ต่อชนคือไม่จิกตอบ ไม่ยืนเตะ นอนอยู่กับพื้นตลอดยกนั้น เมื่อเสียงโป๊กดังขึ้นผู้คุมการชนไก่จะตัดสินไก่ตัวนั้นแพ้

สูตรเลี้ยงไก่พม่าทางเหนือที่เลี้ยงอยู่

1. จับโยนให้บิน 50 – 150 ครั้ง (เริ่มจากน้อยไปมาก) วิ่งสุ่ม 30 นาที กาดน้ำตากแดด 1- 2 ชั่วโมง 2 อาทิตย์
2. ปล้ำกับไก่นวม 1 ยก 3 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน (ช่วงวันพักให้ทำตามข้อ 1 )
3. เปิดหน้า 1 ยก พันเดือยบาง ปล่อยปากไก่นวม (ถ้าต้องการเช็คความแม่นยำของเดือยไก่เราก็ไม่ต้องพัน เดือย พันแต่ไก่นวม ตอนนี้จะบอกเราได้ว่าไก่เรา ดีพอเลี้ยงต่อได้หรือไม่ เพราะถ้าไก่ไม่ได้เลี้ยง แล้วลองเตะเลยจะวัดแข้งไม่ค่อยได้ )
4. พักจนกว่าไก่สมบูรณ์ ปล้ำกับไก่นวม 1 ยก 3 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน (ช่วงวันพักให้ทำตามข้อ 1 และนวด หน้า คอ ลำตัว ด้วย เค้าเตอร์เพนร้อนด้วยก็ดี ช่วยคัดเลือด)
5. ปล้ำกับไก่นวม 2 ยก 2 ครั้ง แต่ละครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน (ช่วงพัก ใช้ไก่ใส่กระเป๋าล่อให้เตะ 80 ครั้ง ต่อ 1 วัน )
6. ปล้ำกับไก่นวม 15 นาที พัก 1 - 2 อาทิตย์ (ช่วงพักใช้ไก่ใส่กระเป๋าล่อให้เตะ 80-20 ครั้ง ลดลงตามความเหมาะสม)
7. พักไก่ 2-3 วัน โดยไม่ออกกำลังกาย หรืออาจ จะให้วิ่งสุ่มคลายกล้ามเนื้อ สัก 10-15 นาที
8. เปรียบตี รู้ไก่ รู้เขารู้เรา อ่อนไหนแทง แข็งไหนเว้น ขอให้มีชัยทุกท่านคับ